จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 8 พื้นที่ (วันที่ 1)

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 8 พื้นที่ (วันที่ 1)

หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อการพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 8 พื้นที่ ภายใต้โครงการ การพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา โดยรับทุนสนับสนุนจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ระหว่างวันที่ 28-31 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมเบสท์เวสเทิร์น นาดา ดอนเมือง แอร์พอร์ตกรุงเทพฯ
.
สำหรับวันที่ 28 สิงหาคม 2565 ในช่วงเช้า ได้จัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะหลักในหัวข้อ การติดตามประเมินผลของเด็กรายบุคคลเพื่อจะได้ทราบปัญหาและหาทางแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น: การจัดการรายกรณี (Case management) โดย ดร. นิสาพร วัฒนศัพท์ เพื่อศึกษาระบบ กลไกการทำงาน และบทบาทหน้าที่ขององค์กรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดูแลเด็กและเยาวชนด้อยโอกาสรายกรณี อีกทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ได้จากกรณีศึกษา และประสบการณ์จริงของครูนอกระบบการศึกษา
.
จากนั้นในช่วงบ่าย ได้มีการจัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะหลักในหัวข้อ การติดตามประเมินผลของเด็กรายบุคคลเพื่อจะได้ทราบปัญหาและหาทางแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น: การออกแบบเครื่องมือเป็นรายบุคคล โดยคุณวรวัส สบายใจ เพื่อออกแบบเครื่องมือการประเมินผลที่ยึดโยงกับประสบการณ์ในชีวิต โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับระดับการเรียนรู้ของเด็กนอกระบบการศึกษาเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นให้เด็กนอกระบบการศึกษามีส่วนร่วมในการออกแบบการเรียนรู้และการประเมิน ตลอดจนการพัฒนาเส้นทางการเรียนรู้ของตนเองในอนาคต

Related Blogs

Posted by editor | September 6, 2024
ความช่วยเหลือที่หลากหลาย “ราชบุรี Zero Dropout”
สภาพปัญหาที่หลากหลายในพื้นที่ที่ทำให้เกิดเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง . ดังตัวอย่าง "ราชบุรี Zero Dropout" ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดความเข็มแข็งที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการสร้างต้นแบบการช่วยเหลือดูแล กลไกความร่วมมือแบบบูรณาการทุกภาคส่วนในนามของสมัชชาการศึกษา นวัตกรรมการศึกษาที่หลายหลายและมีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา รวมถึงภาคีเครือข่ายทั้งมิติการศึกษา มิติสุขภาวะ และมิติสวัสดิการ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาสามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้อย่างยั่งยืน
Posted by editor | September 6, 2024
“HEARTS model” : คุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM)
ผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่หนุนเสริมโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาได้ไปต่อในระบบการศึกษา หรือทางสายอาชีพ หรืออื่น ๆ ที่เด็กและเยาวชนพึงประสงค์ . แล้วคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) ควรมีลักษณะแบบใด . คุณลักษณะที่ได้จากการถอดบทเรียนผ่านการสัมภาษณ์และการใช้เวลาร่วมกับ CM ในการดำเนินงาน ทำให้สามารถสรุปคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณีที่มีร่วมกัน เป็น “HEARTS model” และสิ่งสำคัญของคนทำงานในฐานะผู้จัดการรายกรณี คือ “การมีใจ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดภายใต้การทำงานของ CM