จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 8 พื้นที่ (วันที่ 3)

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 8 พื้นที่ (วันที่ 3)

วันที่ 30 สิงหาคม 2565 เป็นการจัดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะย่อยตามประเภทครูนอกระบบการศึกษา ทั้งครูประจำการ ครูนักพัฒนา และครูจิตอาสา
.
การอบรมสมรรถนะย่อยห้องครูประจำการ ในหัวข้อความพร้อมยอมรับความเปลี่ยนแปลง การยอมรับความล้มเหลวกับความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและยินดีที่จะปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้นโดยนายแพทย์พนม เกตุมาน เป็นการพัฒนาสมรรถนะด้านทัศนคติและเจตคติของครูนอกระบบการศึกษาให้สามารถปรับตัวและยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ท่ามกลางสถานการณ์ต่าง ๆ ผ่านการทำกิจกรรมทบทวนเรื่องราวที่ผ่านมาที่เป็นเหตุการณ์ในชีวิตที่ประสบความสำเร็จและเหตุการณ์ที่เป็นอุปสรรค เชื่อมโยงกับอุปนิสัยที่เป็นจุดแข็ง (Charater Strengths) 6 กลุ่มใหญ่ 24 ด้าน ที่ใช้ในการปรับตัวให้มีความสุขและเกิดความสำเร็จ เกิดคุณค่าต่อตนเอง ผู้อื่น สังคม และสิ่งแวดล้อม
.
การอบรมสมรรถนะย่อยห้องครูนักพัฒนา ในหัวข้อ ผู้นําทางความคิด เพื่อแสวงหาแนวทางใหม่ ๆ ในการทํางาน โดยคุณปรีดา เรืองวิชาธร มีการใช้กิจกรรม อำนาจแห่งดวงดาว เพื่อทำความเข้าใจปัญหาในเชิงโครงสร้างผ่านการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง การสะท้อนคิดจากกิจกรรม ตลอดจนการเชื่อมโยงสู่สังคมและการปฏิบัติงานจริงในฐานะครูนักพัฒนา ทั้งนี้เพื่อการขยายความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเด็กนอกระบบการศึกษาผ่านมิติของโครงสร้างทางสังคมและการกดขี่ จากนั้นจึงนำเข้าสู่กระบวนการการการเรียนรู้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงผ่านกระบวนการสนทนา (Dialogue) และการสะท้อนคิด (Reflection) เกี่ยวกับกรอบความคิด ศักยภาพ และทักษะของครูนักพัฒนาและเด็กนอกระบบการศึกษา
.

การอบรมสมรรถนะย่อยห้องครูจิตอาสา ในหัวข้อการเรียนรู้เพื่อทบทวนผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงอย่างมียุทธศาสตร์ โดยอ.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ และคุณนเรศ สงเคราะห์สุข โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และยกระดับภารกิจประจำสู่งานวิจัยที่เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ของงาน กิจกรรมที่น่าสนใจของการอบรมครั้งนี้ คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ของครูนอกระบบการศึกษากลุ่มจิตอาสาเกี่ยวกับกระบวนการในการตั้งโจทย์วิจัยจากภารกิจที่ได้ปฏิบัติจริงและเชื่อมโยงกับบริบทงาน จากนั้นจึงนำไปสู่กิจกรรมการคิดร่วมกันในการออกแบบกระบวนการค้นหาคำตอบ และการสร้างความรู้ ซึ่งเกิดประโยชน์ต่อการนำไปพัฒนาภารกิจของครูจิตอาสาเป็นอย่างมาก

Related Blogs

Posted by editor | September 6, 2024
ความช่วยเหลือที่หลากหลาย “ราชบุรี Zero Dropout”
สภาพปัญหาที่หลากหลายในพื้นที่ที่ทำให้เกิดเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง . ดังตัวอย่าง "ราชบุรี Zero Dropout" ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดความเข็มแข็งที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการสร้างต้นแบบการช่วยเหลือดูแล กลไกความร่วมมือแบบบูรณาการทุกภาคส่วนในนามของสมัชชาการศึกษา นวัตกรรมการศึกษาที่หลายหลายและมีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา รวมถึงภาคีเครือข่ายทั้งมิติการศึกษา มิติสุขภาวะ และมิติสวัสดิการ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาสามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้อย่างยั่งยืน
Posted by editor | September 6, 2024
“HEARTS model” : คุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM)
ผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่หนุนเสริมโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาได้ไปต่อในระบบการศึกษา หรือทางสายอาชีพ หรืออื่น ๆ ที่เด็กและเยาวชนพึงประสงค์ . แล้วคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) ควรมีลักษณะแบบใด . คุณลักษณะที่ได้จากการถอดบทเรียนผ่านการสัมภาษณ์และการใช้เวลาร่วมกับ CM ในการดำเนินงาน ทำให้สามารถสรุปคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณีที่มีร่วมกัน เป็น “HEARTS model” และสิ่งสำคัญของคนทำงานในฐานะผู้จัดการรายกรณี คือ “การมีใจ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดภายใต้การทำงานของ CM