จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 8 พื้นที่ (วันที่ 4)

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษา 8 พื้นที่ (วันที่ 4)

วันที่ 31 สิงหาคม 2565 ช่วงเช้า ครูนอกระบบการศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม ประกอบด้วย ครูประจำการ ครูนักพัฒนา และครู
จิตอาสา เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะหลักในหัวข้อการทำงานกับชุมชนในพื้นที่ ใช้การจัดเวทีแบบมีส่วนร่วม โดย
อ.สุวิชาน พัฒนาไพรวัลย์ และคุณนเรศ สงเคราะห์สุข ซึ่งได้พาครูนอกระบบการศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กระบวนการ เครื่องมือ และกฎ 10 ข้อพื้นฐานของการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Learning and Action: PLA) พร้อมทั้งร่วมกันระดมสมอง แลกเปลี่ยนประสบการณ์จริง ผ่านกิจกรรมการวิเคราะห์ชุมชน ทักษะที่สำคัญและจำเป็นในการทำงานกับชุมชน ตลอดจนความท้าทายในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในบริบทงานของตนเอง
.
ในช่วงบ่าย ได้ดำเนินการในหัวข้อ สมรรถนะย่อยครูนักพัฒนา: การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเน้นการสร้างความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผ่านวงสนทนา เพือให้ครูนักพัฒนาได้ร่วมกันวิเคราะห์ในประเด็นเกี่ยวกับ ประเด็นปัญหาในการวิจัย ความสำคัญของการวิจัย ความท้าทายในการทำวิจัย ทั้งนี้เป็นไปเพื่อการเสริมพลัง (Empowerment) ให้กับชุมชนได้มีเครื่องมือในการสร้างแสวงหาความรู้ แก้ปัญหาด้วยตนเอง และสร้างความรู้ในฐานะเจ้าของความรู้และเจ้าของวัฒนธรรม

Related Blogs

Posted by editor | September 6, 2024
ความช่วยเหลือที่หลากหลาย “ราชบุรี Zero Dropout”
สภาพปัญหาที่หลากหลายในพื้นที่ที่ทำให้เกิดเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง . ดังตัวอย่าง "ราชบุรี Zero Dropout" ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดความเข็มแข็งที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการสร้างต้นแบบการช่วยเหลือดูแล กลไกความร่วมมือแบบบูรณาการทุกภาคส่วนในนามของสมัชชาการศึกษา นวัตกรรมการศึกษาที่หลายหลายและมีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา รวมถึงภาคีเครือข่ายทั้งมิติการศึกษา มิติสุขภาวะ และมิติสวัสดิการ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาสามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้อย่างยั่งยืน
Posted by editor | September 6, 2024
“HEARTS model” : คุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM)
ผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่หนุนเสริมโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาได้ไปต่อในระบบการศึกษา หรือทางสายอาชีพ หรืออื่น ๆ ที่เด็กและเยาวชนพึงประสงค์ . แล้วคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) ควรมีลักษณะแบบใด . คุณลักษณะที่ได้จากการถอดบทเรียนผ่านการสัมภาษณ์และการใช้เวลาร่วมกับ CM ในการดำเนินงาน ทำให้สามารถสรุปคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณีที่มีร่วมกัน เป็น “HEARTS model” และสิ่งสำคัญของคนทำงานในฐานะผู้จัดการรายกรณี คือ “การมีใจ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดภายใต้การทำงานของ CM