โครงการกลไกการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ในจังหวัดชัยภูมิ

โครงการกลไกการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ในจังหวัดชัยภูมิ

เมื่อวันที่ 5-6 สิงหาคม 2565 หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการกลไกการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่ในจังหวัดชัยภูมิ
.
ซึ่งเป็น 1 ใน 8 โครงการภาคีเครือข่าย ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สร้าง และทดลองใช้ รวมถึงประเมินกลไกการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่
.
จากการลงพื้นที่โครงการครั้งนี้ คณะทำงานฯ ได้พบนวัตกรรมสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาครูนอกระบบการศึกษา คือ ร่างหลักสูตรเฉพาะที่ช่วยเติมเต็มศักยภาพครูนอกระบบการศึกษาที่สอดคล้องกับธรรมชาติและบริบทของครูและเด็กนอกระบบการศึกษา นอกจากนี้ยังได้ข้อมูลสะท้อนผลจากครูนอกระบบที่ผ่านการพัฒนาศักยภาพตามหลักสูตรข้างต้น ที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเชิงนโยบายเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคตได้
.
ทั้งนี้ร่างหลักสูตรการพัฒนาครูนอกระบบการศึกษาฉบับดังกล่าว ยังอยู่ระหว่างการทดลองใช้ ตามแนวทางการออกแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development)

Related Blogs

Posted by editor | September 6, 2024
ความช่วยเหลือที่หลากหลาย “ราชบุรี Zero Dropout”
สภาพปัญหาที่หลากหลายในพื้นที่ที่ทำให้เกิดเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง . ดังตัวอย่าง "ราชบุรี Zero Dropout" ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดความเข็มแข็งที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการสร้างต้นแบบการช่วยเหลือดูแล กลไกความร่วมมือแบบบูรณาการทุกภาคส่วนในนามของสมัชชาการศึกษา นวัตกรรมการศึกษาที่หลายหลายและมีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา รวมถึงภาคีเครือข่ายทั้งมิติการศึกษา มิติสุขภาวะ และมิติสวัสดิการ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาสามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้อย่างยั่งยืน
Posted by editor | September 6, 2024
“HEARTS model” : คุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM)
ผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่หนุนเสริมโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาได้ไปต่อในระบบการศึกษา หรือทางสายอาชีพ หรืออื่น ๆ ที่เด็กและเยาวชนพึงประสงค์ . แล้วคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) ควรมีลักษณะแบบใด . คุณลักษณะที่ได้จากการถอดบทเรียนผ่านการสัมภาษณ์และการใช้เวลาร่วมกับ CM ในการดำเนินงาน ทำให้สามารถสรุปคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณีที่มีร่วมกัน เป็น “HEARTS model” และสิ่งสำคัญของคนทำงานในฐานะผู้จัดการรายกรณี คือ “การมีใจ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดภายใต้การทำงานของ CM