ลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสมรรถนะครูผู้ดูแลเด็กในกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี

ลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสมรรถนะครูผู้ดูแลเด็กในกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี

เมื่อวันที่ 7-8 สิงหาคม 2565 หน่วยปฏิบัติการวิจัยเพื่อพัฒนาด้านเด็กและเยาวชน คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมสมรรถนะครูผู้ดูแลเด็กในกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
.
ซึ่งเป็น 1 ใน 8 โครงการภาคีเครือข่าย ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สร้าง และทดลองใช้ รวมถึงประเมินกลไกการพัฒนาสมรรถนะครูนอกระบบการศึกษาตามแนวคิดเครือข่ายเชิงพื้นที่
.
จากการลงพื้นที่โครงการ คณะทำงานฯ ได้พบหลักการพัฒนาสมรรถนะครูผู้ดูแลเด็กในกระบวนการยุติธรรม โดยเน้นการทำความเข้าใจธรรมชาติของผู้เรียนและการแก้ปัญหาผู้เรียนรายบุคคล ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำความเข้าใจผู้เรียนผ่านนพลักษณ์ (Enneagram) และ การแก้ไขปัญหาผู้เรียนผ่านหลักการคิดเป็น (Khit Pen)
.

นอกจากนั้นคณะทำงานฯ ยังค้นพบหนึ่งในวิธีการพัฒนาสมรรถนะครู โดยการใช้วงสนทนาหนังสือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหาในการใช้พัฒนาชั้นเรียน อาทิ การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep Listening) การสะท้อนคิด (Reflection) การเรียนรู้จากประสบการณ์ (Experiential Learning) เพื่อนำมาซึ่งวิธีการที่หลากหลายและการเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับบริบทและธรรมชาติของผู้เรียน ทั้งนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการทดลองนำไปใช้

Related Blogs

Posted by editor | September 6, 2024
ความช่วยเหลือที่หลากหลาย “ราชบุรี Zero Dropout”
สภาพปัญหาที่หลากหลายในพื้นที่ที่ทำให้เกิดเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง . ดังตัวอย่าง "ราชบุรี Zero Dropout" ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดความเข็มแข็งที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการสร้างต้นแบบการช่วยเหลือดูแล กลไกความร่วมมือแบบบูรณาการทุกภาคส่วนในนามของสมัชชาการศึกษา นวัตกรรมการศึกษาที่หลายหลายและมีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา รวมถึงภาคีเครือข่ายทั้งมิติการศึกษา มิติสุขภาวะ และมิติสวัสดิการ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาสามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้อย่างยั่งยืน
Posted by editor | September 6, 2024
“HEARTS model” : คุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM)
ผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่หนุนเสริมโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาได้ไปต่อในระบบการศึกษา หรือทางสายอาชีพ หรืออื่น ๆ ที่เด็กและเยาวชนพึงประสงค์ . แล้วคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) ควรมีลักษณะแบบใด . คุณลักษณะที่ได้จากการถอดบทเรียนผ่านการสัมภาษณ์และการใช้เวลาร่วมกับ CM ในการดำเนินงาน ทำให้สามารถสรุปคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณีที่มีร่วมกัน เป็น “HEARTS model” และสิ่งสำคัญของคนทำงานในฐานะผู้จัดการรายกรณี คือ “การมีใจ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดภายใต้การทำงานของ CM