การพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด สกลนคร และอุบลราชธานี

การพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร ร้อยเอ็ด สกลนคร และอุบลราชธานี

.
ที่ดำเนินการโดยบริษัท เอส ไอ แอล ซี จำกัด เป็นส่วนหนึ่งในโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษาโดยเครือข่ายเชิงพื้นที่: ตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด ภายใต้การสนับสนุนของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ปี 2563 มีกิจกรรมและกระบวนการที่สำคัญ คือ การพัฒนาศักยภาพ ค้นหาเป้าหมายตัวเอง พร้อมทั้งการสร้างคุณค่าให้ตัวเองและสร้างโมเดลธุรกิจที่เหมาะกับยุคสมัยและความต้องการของเด็กและเยาวชน โดยมีการพัฒนาเครื่องมือที่สามารถเข้าถึงง่ายและน่าสนใจ ทำให้เด็กและเยาวชนลุกขึ้นมาค้นหาเป้าหมายของตัวเองในอนาคต
.
โดยมีเครื่องมือและกระบวนการ คือ การพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการ: จากความสนใจและความถนัด และการตั้งเป้าหมายความต้องการประกอบอาชีพในอนาคต ได้มีการพัฒนากิจกรรมพัฒนาอาชีพของเด็กและเยาวชน เช่น ทักษะการทำผ้ามัดย้อมด้วยสีธรรมชาติ ทักษะการแปรรูปสมุนไพรสร้างอาชีพ ทักษะการทำน้ำสมุนไพร ทักษะช่างตัดผม ทักษะการทำเบเกอรี่ เป็นต้น ทักษะต่างๆ ถูกถ่ายทอด จากผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน เพื่อให้เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาในกระบวนการยุติธรรมเข้าใจง่าย สามารถนำไปต่อยอดได้จริง จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ให้กับตนเอง
.
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : https://drive.google.com/…/1hEYPGKDEBkgwSl6hJ0ufgc…/view
.
ขอบคุณข้อมูลจาก SILC Company Limited

Related Blogs

Posted by editor | September 6, 2024
ความช่วยเหลือที่หลากหลาย “ราชบุรี Zero Dropout”
สภาพปัญหาที่หลากหลายในพื้นที่ที่ทำให้เกิดเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง . ดังตัวอย่าง "ราชบุรี Zero Dropout" ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดความเข็มแข็งที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการสร้างต้นแบบการช่วยเหลือดูแล กลไกความร่วมมือแบบบูรณาการทุกภาคส่วนในนามของสมัชชาการศึกษา นวัตกรรมการศึกษาที่หลายหลายและมีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา รวมถึงภาคีเครือข่ายทั้งมิติการศึกษา มิติสุขภาวะ และมิติสวัสดิการ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาสามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้อย่างยั่งยืน
Posted by editor | September 6, 2024
“HEARTS model” : คุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM)
ผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่หนุนเสริมโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาได้ไปต่อในระบบการศึกษา หรือทางสายอาชีพ หรืออื่น ๆ ที่เด็กและเยาวชนพึงประสงค์ . แล้วคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) ควรมีลักษณะแบบใด . คุณลักษณะที่ได้จากการถอดบทเรียนผ่านการสัมภาษณ์และการใช้เวลาร่วมกับ CM ในการดำเนินงาน ทำให้สามารถสรุปคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณีที่มีร่วมกัน เป็น “HEARTS model” และสิ่งสำคัญของคนทำงานในฐานะผู้จัดการรายกรณี คือ “การมีใจ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดภายใต้การทำงานของ CM