ประเด็นเด็กเด็ดจากหนัง : Juvenile Justice (หญิงเหล็กศาลเยาวชน)

ประเด็นเด็กเด็ดจากหนัง : Juvenile Justice (หญิงเหล็กศาลเยาวชน)

Juvenile Justice (หญิงเหล็กศาลเยาวชน) ซีรีส์เกาหลีใต้ของ Netflix บอกเล่าการทำงานและการตัดสินคดีความในแผนกคดีเยาวชนที่มีความซับซ้อนและกดดัน ผ่านเรื่องราวของชิมอึนซอก ผู้พิพากษาหญิงที่มีความเกลียดชังต่อผู้กระทำความผิดที่เป็นเด็กกับประโยคที่ว่า “ฉันรังเกียจเยาวชนผู้กระทำผิด” ซึ่งต่อมาเธอได้เรียนรู้และเปิดใจยอมรับว่าเด็กเหล่านี้สามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ ส่วนอีกด้านหนึ่งมีเด็กบางกลุ่มที่ไม่อาจแก้ไขการกระทำและสำนึกผิดในสิ่งที่ตนกระทำไป จึงเป็นหน้าที่ของเธอในการให้บทลงโทษที่ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้ถึงผลจากการกระทำของตนเอง
.
เมื่อเด็กกระทำความผิดและเข้าสู่ในกระบวนการยุติธรรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการพัฒนาศักยภาพของเด็กเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างสมดุลและมีความสุข มีการพัฒนาแบบองค์รวมทั้งความรู้ พฤติกรรม และให้ตระหนักในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สร้างตัวตนที่เป็นเกราะป้องกันตนเองจากการก้าวพลาดและการกระทำผิดซ้ำ
.
ทั้งนี้รูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กในกระบวนการยุติธรรม จำเป็นต้องมีการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มประสบการณ์ตามความถนัดหรือความสนใจของเด็กเชี่อมโยงเข้ากับการประกอบอาชีพ การจัดตั้ง Learning Hub เพื่อจัดการศึกษาทางเลือกรูปแบบศูนย์การเรียนภายในศูนย์ฝึก รวมทั้งการประสานกับเครือข่ายศูนย์การเรียนภายนอกเพื่อส่งต่อเด็กระหว่างการฝึกและอบรมในศูนย์ฝึก และภายหลังที่ได้รับการปล่อยตัว
.
นอกจากนั้นซีรีส์ยังสะท้อนให้เห็นว่า “ครอบครัว” คือสถาบันหลักที่ทำให้เด็กเลือกเข้าสู่เส้นทางที่ผิด พวกเขาต้องพบเจอกับประสบการณ์การใช้ความรุนแรงในครอบครัว การขาดผู้ชี้แนะแนวทางการใช้ชีวิตและการขาดผู้ให้คำปรึกษาถึงปัญหาของตนเอง เนื่องจากสถาบันครอบครัวเป็นสถาบันแรกและมีความสำคัญมากที่สุดสำหรับเด็ก
.
สามารถอ่านแนวทางการจัดการศึกษาทางเลือกสำหรับเด็กและเยาวชนในกระบวนการยุติธรรม เพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/CYDEDUCHULA/posts/3614575388556977

#CYD #ประเด็นเด็กเด็ดจากหนัง

Related Blogs

Posted by editor | September 6, 2024
ความช่วยเหลือที่หลากหลาย “ราชบุรี Zero Dropout”
สภาพปัญหาที่หลากหลายในพื้นที่ที่ทำให้เกิดเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา สามารถแก้ไขได้ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง . ดังตัวอย่าง "ราชบุรี Zero Dropout" ที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดความเข็มแข็งที่ครอบคลุมทุกมิติ ทั้งการสร้างต้นแบบการช่วยเหลือดูแล กลไกความร่วมมือแบบบูรณาการทุกภาคส่วนในนามของสมัชชาการศึกษา นวัตกรรมการศึกษาที่หลายหลายและมีความยืดหยุ่น เหมาะสมกับบริบทและความต้องการของเด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษา รวมถึงภาคีเครือข่ายทั้งมิติการศึกษา มิติสุขภาวะ และมิติสวัสดิการ โดยมีเป้าหมายเดียวกัน คือ เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาสามารถกลับเข้าสู่ระบบการศึกษาได้อย่างยั่งยืน
Posted by editor | September 6, 2024
“HEARTS model” : คุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM)
ผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) เป็นบุคคลที่ทำหน้าที่หนุนเสริมโอกาสทางการศึกษาให้เด็ก เยาวชนนอกระบบการศึกษาได้ไปต่อในระบบการศึกษา หรือทางสายอาชีพ หรืออื่น ๆ ที่เด็กและเยาวชนพึงประสงค์ . แล้วคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณี (case manager: CM) ควรมีลักษณะแบบใด . คุณลักษณะที่ได้จากการถอดบทเรียนผ่านการสัมภาษณ์และการใช้เวลาร่วมกับ CM ในการดำเนินงาน ทำให้สามารถสรุปคุณลักษณะของผู้จัดการรายกรณีที่มีร่วมกัน เป็น “HEARTS model” และสิ่งสำคัญของคนทำงานในฐานะผู้จัดการรายกรณี คือ “การมีใจ” เป็นสิ่งสำคัญที่สุดภายใต้การทำงานของ CM